วันเสาร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ความเป็นมาขององค์กร




ความเป็นมาของธุรกิจในกลุ่มเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์
          จากประสบการณ์ของนายจำเริญ พูลวรลักษณ์ ในธุรกิจโรงภาพยนตร์อันยาวนานกว่า 40 ปี ในนามเครือเมเจอร์กรุ๊ป นายวิชา พูลวรลักษณ์ บุตรชายได้สานต่อประสบการณ์และเริ่มทำธุรกิจโรงภาพยนตร์ในแนวเอ็นเตอร์เทนท์คอมเพล็กซ์(Entertainment Complex) ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างโรงภาพยนตร์(Cinema) เข้ากับธุรกิจบันเทิง และกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกัน เกิดเป็น "ศูนย์บันเทิง เมเจอร์ ซีนิเพล็กซ์" (MAJOR CINEPLEX) เป็นศูนย์บันเทิงที่รวมเอาความบันเทิงหลากหลายรูปแบบไว้ในที่เดียว โดยมีโรงภาพยนตร์ "เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์" เป็นบริการบันเทิงหลัก และธุรกิจโบว์ลิ่งเป็นธุรกิจรอง พร้อมเสริมด้วยบริการบันเทิงอื่นหลากหลายประเทศ เพื่อให้เกิดความสะดวกและความครบวงจรในการตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่เข้าใช้บริการชมภาพยนตร์ อาทิเช่น ร้านอาหาร ร้านหนังสือ ร้านจำหน่ายเทปเพลง วีดีโอ ร้านขายของที่ระลึก บริการอินเตอร์เน็ท เป็นต้น ทำให้ลูกค้าของโรงภาพยนตร์เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ สามารถเลือกหาความบันเทิงได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้บริษัทฯ ยังได้ขยายเข้าสู่ธุรกิจศูนย์ออกกำลังกายโดยเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ บริษัท แคลิฟอร์เนีย ฟิตเนส จำกัด เพื่อการขยายธุรกิจของบริษัทฯ ในรูปแบบของ Lifestyle Entertainment Complex
          Major Cineplex Group PLC. ก่อตั้งโดย วิชา พูลวรลักษณ์ บริษัทฯ ทำธุรกิจโรงภาพยนตร์ในแนว Entertainment Complex ปัจจุบันในเดือนมิถุนายน 2547 กลุ่ม Major Cineplex ได้ควบรวมกิจการเข้ากับ EGV Entertainment เพื่อสร้างความแข็งแกร่งในการดำเนินการทางธุรกิจ โดยโครงสร้างผู้ถือหุ้นหลังการควบรวม Majorถือหุ้น 65% และ EGV ถือหุ้น 35%
          คาดว่าภายในปี 2548 จะมีโรงภาพยนตร์รวมกันประมาณ 350 โรง โดยมีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ในระดับ 70% จากขณะนี้ Major มีประมาณ 43% EGV มีประมาณ 27% ส่วนเรื่องการรับรู้รายได้ของบริษัท หลังจากการควบรวมเชื่อว่าจะสามารถรับรู้รายได้ในช่วงไตรมาสที่1/2548 ซึ่งคาดการณ์เชื่อว่าสัดส่วนรายได้น่าจะอยู่ที่ประมาณ 4-5 พันล้านบาท โดยปีที่แล้วMajor มีรายได้ 2,462 ล้านบาท กำไร 422 ล้านบาท ส่วน EGV มีรายได้ 1,089 ล้านบาท และกำไร 60 ล้านบาท การควบรวมระหว่าง Major กับ EGV จะทำให้มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวม (มาร์เกตแคป) อยู่ในระดับ 1.4-1.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งถือเป็นโอกาสทางธุรกิจ และช่วยทำให้ลดรายจ่ายที่ซ้ำซ้อนลง ทั้งนี้
          การควบรวมเป็นโอกาสที่จะขยายธุรกิจไปสู่ต่างประเทศ ซึ่งมีแผนที่จะเปิดโรงภาพยนตร์ที่ประเทศเวียดนาม ซึ่งเป็นประเทศที่มีศักยภาพสูงมากโดยเลือกทำเลที่เมืองโฮจิมินห์ซิตี้ ปัจจุบันนี้มีธุรกิจที่เป็นของคนไทย 100% มีเพียง 2 ประเภทเท่านั้น คือธุรกิจบันเทิงและอสังหาริมทรัพย์ ส่วนธุรกิจอื่นๆ นั้นจะมีต่างประเทศเข้ามาถือหุ้นและมีบทบาทอย่างมาก ดังนั้นจุดนี้จึงถือเป็นโอกาสที่คนไทยจะสร้างจุดแข็งของธุรกิจ และด้วย
ประสบการณ์การทำงานของทั้ง 2 ฝ่ายทำให้เมื่อรวมกันแล้วมองว่าตลาดในเมืองไทยมีขนาดเล็กลง ดังนั้นจึงต้องยกระดับไปสู่ตลาดต่างประเทศ
          หลังควบรวมกิจการ ในส่วนของการปฏิบัติงานภายใน (Back office) เช่น งานในส่วนของบุคลากร, ระบบเทคโนโลยีและระบบบัญชีการเงินนั้นทาง ผู้บริหาร EGV จะเป็นผู้ดูแล ส่วนงานด้านการตลาดและการดำเนินการต่างๆ นั้นทางผู้บริหารของ Major เป็นผู้ดูแล
          ในปัจจุบัน MAJOR กับ EGV มีจำนวนโรงภาพยนตร์รวมกันทั้งสิ้น 38 สาขา 289 โรง โดยเป็นสาขาในกรุงเทพจำนวน 28 สาขา , ต่างจังหวัด 10 สาขา และโบว์ลิ่งอีก 534 เลน
          ด้วยศักยภาพการเติบโตอย่างเข้มแข้ง บริษัทฯ ได้เปิดสาขาใหม่ในปี 2547 อีก 1 สาขา คือ สาขาฉะเชิงเทรา แล้วยังเปิดสาขาโบว์ลิ่งเพิ่มเติมอีก 5 สาขา คือ สาขา J-Avenue ซ.ทองหล่อ 15 , สาขาอุดรธานี ,สาขาบางกะปิ , สาขาบางนา และสาขาปิ่นเกล้า โดยภายในสิ้นปี 2547 บริษัทฯ มีสาขารวมทั้งสิ้น 28 สาขา แบ่งเป็น ในเครือเมเจอร์ 17 สาขา โดยแยกเป็น โรงภาพยนตร์ 16 สาขา โบว์ลิ่ง และคาราโอเกะ 14 สาขา ด้วยจำนวนโรงภาพยนตร์ 135 โรง สามารถรองรับผู้ชมได้จำนวนสูงถึง 34,200 ที่นั่ง โบว์ลิ่ง 290 เลน และห้องคาราโอเกะ 200 ห้อง พื้นที่ให้เช่า 18,800 ตารางเมตร และอีจีวี 11 สาขา จำนวนโรงภาพยนตร์ 99 โรง สามารถรองรับผู้ชมได้จำนวนสูงถึง 21,684 ที่นั่ง โบว์ลิ่ง 20 เลน และห้องคาราโอเกะ 73 ห้อง พื้นที่ให้เช่า 2,755 ตารางเมตร
Vision
          เป็นผู้ให้บริการและขายสินค้าที่เกี่ยวกับโรงภาพยนตร์ที่ดีที่สุด ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
โดยสร้างคุณค่าสูงสุด ให้กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายโดย เป็นผู้นำด้านศูนย์รวมความบันเทิง ในนาม เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์

ภาพรวมกลุ่มธุรกิจ
          เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ (อังกฤษ: Major Cineplex) คือ ผู้ให้บริการโรงภาพยนตร์ในระบบมัลติเพล็กซ์ (Multiplex) ในประเทศไทย เปิดให้บริการครั้งแรกที่สาขาปิ่นเกล้า โดยสร้างเป็นอาคารโรงภาพยนตร์และศูนย์การค้าครบวงจร ในรูปแบบ Stand Alone แห่งแรกในประเทศไทย เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์มีโรงภาพยนตร์ตั้งแต่ 3-16 โรงภาพยนตร์และสาขาล่าสุดที่เปิดตัวไปคือ เมกา ซีนีเพล็กซ์ เป็นแบรนด์โรงภาพยนตร์แบรนด์ที่ 6 ของเมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ โดยตั้งอยู่ภายในศูนย์การค้าเมกาบางนา มีจำนวนทั้งหมด 15 โรงภาพยนตร์

การดำเนินงานที่ผ่านมา
          เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ธุรกิจให้บริการ ด้านความบันเทิงต่างๆ เช่นภาพยนตร์ และ กิจกรรมร้องเพลง เกมส์ต่างๆ ยังสามารถเปิดบริการและกิจการยังสามารถโตขึ้นได้อีก เรื่อยๆ และยังไม่มีแนวโน้มจะหดตัวลงในปัจจุบัน เพราะตราบใดที่ประชาชน หรือผู้บริโภคยังต้องการความบันเทิงอยู่ เมเจอร์ก็ยังสามารถดำเนินธุรกิจได้ต่อไปเรื่อยๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
          การดำเนินงานของเมเจอร์ที่ผ่านมานั้น กล่าวได้ว่าเป็นการเดินบนเส้นทางธุรกิจที่ฉลาด รอบคอบ และสามารถดึงเอาจุดที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ต้องการ มาใช้เป็นข้อได้เปรียบทางการค้าได้อย่างแม่นยำ ยกตัวอย่างเช่น ข่าวเมื่อปี 2554 คณะกรรมการผู้บริหาร ได้มีนโยบายขึ้นราคาตั๋วชมภาพยนตร์เพิ่มอีก 3 - 5 เปอเซนต์ สำหรับหนังฟอร์มยักษ์ ซึ่งทางผู้บริหารได้กล่าวอ้างว่า การปรับราคานั้น เพื่อให้สอดคล้องกับต้นทุนของหนังฟอร์มยักษ์ และราคาตั๋วในไทย ยังต่ำกว่าหลายประเทศในเอเชีย และโดยปกติ ทางเมเจอร์จะปรับราคาตั๋วขึ้น 3-5 เปอเซนต์ ทุกปี ตามภาวะต้นทุน

สถานการณ์ปัจจุบัน
          ในปี 2554 บริษัทยังคงมุ่งเน้นไปที่การทำให้ ธุรกิจหลักแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง สำหรับการสร้าง ศักยภาพในการเติบโต บริษัทยังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนา อุตสาหกรรมภาพยนตร์อย่างต่อเนื่อง ยังคงส่งเสริม ให้มีการสร้างภาพยนตร์ไทยให้มากขึ้น โดยจะแสดง ให้วงการประจักษ์ว่าสามารถใช้พลังจากเครือข่าย การจัดจำหน่ายภาพยนตร์ของกลุ่มบริษัททั้งหมด ให้เกิดประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดได้ การขยาย สาขาก็ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งใน ต่างจังหวัด เพราะเครือข่ายที่ใหญ่ในต่างจังหวัด จะเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะทำให้อุตสาหกรรมในองค์รวม เติบโตได้
          อีกหนึ่งกลยุทธ์ที่สำคัญมากคือ การเปิดรับ เทคโนโลยีการฉายภาพยนตร์ในระบบดิจิตอล และ ระบบดิจิตอลสามมิติ บริษัทกำลังอยู่ในช่วงศึกษา เพื่อกำหนดกระบวนการที่ดีที่สุดในการปรับให้เครือข่าย โรงภาพยนตร์ของบริษัทสามารถรองรับ ภาพยนตร์ดิจิตอล และดิจิตอลสามมิติได้ เพื่อเพิ่ม ความหลากหลายของภาพยนตร์จากฮอลลีวู้ดจาก การจัดจำหน่ายที่ถูกลง และเพื่อเปิดโอกาสให้ ภาพยนตร์สามมิติที่ได้รับการปลุกกระแสให้คึกคัก ขึ้นอีกครั้ง ได้มีโอกาสในการสร้างยอดขายได้สูงขึ้น ด้วย ทั้งหมดทั้งปวงเพื่อการให้บริการที่หลากหลาย และคุณภาพที่ดีขึ้นแด่ลูกค้า พร้อมๆไปกับการขยาย ให้อุตสาหกรรมเติบโตยิ่งๆ ขึ้นไป
          การขยายเครือข่ายโรงภาพยนตร์เมื่อช่วงปลายปี เป็นย่างก้าวที่สำคัญ บริษัทฯได้เปิดสาขาใหม่ เป็นสาขาใหญ่รูปแบบ Standalone ในย่านงามวงศ์วาน-แคราย ภายใต้ชื่อ เอสพลานาด ซินีเพล็กซ์ โดยมีโรงภาพยนตร์ 16 โรง โบว์ลิ่ง 24 เลน ลานไอซ์สเก็ต และพื้นที่เช่าประมาณ 10,000 ตารางเมตร เอสพลานาด ซินีเพล็กซ์ งามวงศ์วาน-แคราย นี้สร้างขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่จะตามมากับการเติบโตอย่างรวดเร็วของชุมชนในย่านนั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น